Deprecated: Using ${var} in strings is deprecated, use {$var} instead in /var/www/vhosts/ppw.ac.th/domains/ppw.ac.th/public_html/wp-content/plugins/wp-rocket/inc/Engine/Optimization/DelayJS/HTML.php on line 253

Deprecated: Using ${var} in strings is deprecated, use {$var} instead in /var/www/vhosts/ppw.ac.th/domains/ppw.ac.th/public_html/wp-content/plugins/wp-rocket/inc/Engine/Optimization/DelayJS/HTML.php on line 263

Deprecated: Using ${var} in strings is deprecated, use {$var} instead in /var/www/vhosts/ppw.ac.th/domains/ppw.ac.th/public_html/wp-content/plugins/wp-rocket/inc/Engine/Optimization/DelayJS/HTML.php on line 272
ข้อมูลพื้นฐาน – — โรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร — Phanompraiwittayakarn School —

” พนมไพรวิทยาคารงามสง่า แหล่งศึกษาวิทยามหาศาล
สถาบันเด่นในแดนดอนกลางตระการ เลื่องลือผลงานอุดมการณ์เรามั่นคง
เขียวขาวโบกสกาวงามผ่อง ดั่งโซ่ทองคล้องใจยั่งยืนยง
เกียรติศักดิ์ศรีน้องพี่ทรนง เทิดดำรงคุณธรรมนำวัฒนา
มานะอดทนอ่อนโยนสามัคคี รู้ดีคิดดีทำดีคือสัตย์จรรยา
เลิศวิชาการเก่งด้านการกีฬา สร้างศรัทธาชุมชนด้วยความดี
พนมไพรวิทยาคารเรายิ่งใหญ่ เหนือสิ่งใดคือชาติศาสน์องค์จักรี
เจ้าพ่อชัยมงคลป้องภัยน้องพี่ เปล่าราศีในร้อยเอ็ดเพชรอีสาน “

ชื่อโรงเรียน โรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร
ชื่อโรงเรียนภาษาอังกฤษ Phanomphraiwitthayakharn School
อักษรย่อ พ.ว. (P.W.)
ขนาดโรงเรียน ขนาดใหญ่
สีประจำโรงเรียน เขียว – ขาว
ที่ตั้ง 351 หมู่ที่ 3 บ้านศิลาเลข ตำบลพนมไพร อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด 45140
โทรศัพท์ 043-030251 โทรสาร 043-030506
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ประเภท โรงเรียนรัฐบาลแบบสหศึกษา (ไป-กลับ)
เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3 – 4 ระดับชั้น ม.1 – ม.6

“มานะ อดทน อ่อนโยน สามัคคี”

คำขวัญโรงเรียน

อุดมการณ์ รู้ดี คิดดี ทำดี
คติพจน์ ชีวิตํ วิชฺชํ สมฺปาเทน ปูรณํ คจฺฉติ ( ชีวิตจะสมบูรณ์ ต้องเพิ่มพูนการศึกษา )
เลขหนังสือราชการ ศธ.04257.35 /…..
สหวิทยาเขต ศูนย์เมืองแสนสามารถวิทย์
นามเรียกขานวิทยุ ไพรวิทย์
เว็บไซต์ : www.ppw.ac.th
E-Mail : ppw@ppw.ac.th
Facebook Page : โรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร
เว็บไซต์ห้องสมุด http://203.172.137.190/ULIB

สหวิทยาเขตเมืองแสนสามารถวิทย์
1. โรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร
2. โรงเรียนอาจสามารถวิทยา
3. โรงเรียนหนองฮีเจริญวิทย์
4. โรงเรียนหนองหมื่นถ่านวิทยา
5. โรงเรียนดูกอึ่งประชาสามัคคี
6. โรงเรียนน้ำใสวรวิทย์
7. โรงเรียนโพนเมืองประชารัฐ(ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์อนุสรณ์)

โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการ
1. โรงเรียนอนุบาลเมืองพนมไพร
2. โรงเรียนชะโดเหล่าบึงแก้ว
3. โรงเรียนบ้านสระแก้วเจริญศิลป์
4. โรงเรียนบ้านโนนทรายสระทอง
5. โรงเรียนบ้านโนนม่วง
6. โรงเรียนบ้านสมสะอาด
7. โรงเรียนบ้านหงส์ทอง(แสนสุขวิทยา)
8. โรงเรียนบ้านคำแดง
9. โรงเรียนบ้านนางเตี้ยไศลทอง
10. โรงเรียนบ้านโปง
11. โรงเรียนบ้านโนนชัยศรีกนองแคน
12. โรงเรียนบ้านดอยเจริญ
13. โรงเรียนบ้านโนนศิลา
14. โรงเรียนอนุบาลกมลวิทยา(โรงเรียนเอกชน)
15. โรงเรียนอนุบาลชีวรัตน์(โรงเรียนเอกชน)
16. โรงเรียนอนุบาลสาธิตวิชชาลัย(โรงเรียนเอกชน)

โรงเรียนขยายโอกาสที่เข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4)
1. โรงเรียนบ้านค้อ(ชัยยุทธวิทยาคม)
2. โรงเรียนโนนไทยวิทยาคาร
3. โรงเรียนบ้านโพธิ์ใหญ่
4. โรงเรียนวารีสวัสดิ์วิทยา
5. โรงเรียนนานวลราษฎร์นิยม
6. โรงเรียนคำไฮสำโรงวิทยาคาร
7. โรงเรียนบ้านชานุวรรณ
8. โรงเรียนท่าลาดวารีวิทยา
9. โรงเรียนบ้านหัวนา
10. โรงเรียนบ้านหนองทัพไทย
11. โรงเรียนบ้านดอนเสาโฮง(นิคมวิทยาคาร)
12. โรงเรียนสาวแหหนองแคนวิทยา(เขตอำเภอหนองฮี)

โรงเรียนนอกเขตพื้นที่
โรงเรียนในเขตอำเภอหนองฮี เช่น โรงเรียนสาวแหหนองแคนวิทยา โรงเรียนบ้านหนองจาน
โรงเรียนบ้านดูกอึ่ง โรงเรียนบ้านหนองแห้ว โรงเรียนบ้านดอนกลอย
โรงเรียนในเขตพื้นที่อำเภออาจสามารถ(โรงเรียนห้วยแก้วห้วยสำราญ)

 

ระดับชั้นผู้ชายผู้หญิงรวม
ม.1197193390
ม.2155197352
ม.3157193350
ม.4132181313
ม.5129215344
ม.6127171298
รวม89711502047

พ.ศ. 2504
เริ่มเสนอการขอจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอกับกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ และติดตามผลเรื่อยมาเป็นเวลา 9 ปี
พ.ศ. 2513
ได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแบบ สหศึกษา โดยรับนักเรียน ม.ศ. 1 จำนวน 2 ห้องเรียน โดยอาศัยเรียนที่โรงเรียนบ้านพนมไพรมี นายเสริม สังสนา รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และยืมครูในระดับประถมศึกษามาช่วยสอนในระยะหนึ่ง
พ.ศ. 2514
ได้รับอนุมัติสร้างอาคารเรียนแบบ 212 จำนวน 4 ห้องเรียน สร้างเสร็จได้ย้ายนักเรียนมาเรียน ณ สถานที่จริงบริเวณป่าช้าดอนกลาง
พ.ศ. 2515
นายเสริม สังสนา ย้ายไปรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการศึกษา
นายพนม ศรีพิมพ์ ศึกษาธิการอำเภอพนมไพร รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่แทน

19 ธ.ค. 2515
นายสมบัติ จันทภูมิ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรก ได้รับอนุมัติให้สร้าง อาคาร 212 เพิ่มเติมอีก 4 ห้องเรียน รวมเป็น 8 ห้องเรียนขณะนั้นมีครู 12 คน นักเรียน 292 คน
พ.ศ. 2518
ว่าที่ร้อยตรีสุนัย เสงี่ยมศักดิ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน นายสมบัติ จันทภูมิ ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรพ์
พ.ศ. 2519
ได้รับอนุมัติสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก. ครึ่งหลัง 4 ห้องเรียน อาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง จำนวน 4 ห้องเรียน สนามบาสเกตบอล เปิดบริการห้องสมุด ห้องแนะแนว โรงพลศึกษาด้วยไม้ไผ่ อาคารเรียนชั่วคราว โรงอาหารชั่วคราวโดยได้รับเงินบริจาคจากผู้ปกครองนักเรียน และประชาชน
29 ก.ย. 2520
เลื่อนตำแหน่งผู้บริหารจากครูใหญ่เป็นอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2520
ได้รับอนุมัติให้สร้างอาคารเรียน 4 ห้องเรียน อาคารถาวรแบบ 216 ก. ครึ่งหลัง เพิ่มเติมและหอประชุมขนาดเล็ก 1 หลัง โรงเรียนได้จัดตั้งวงดนตรีไทย ดนตรีสากล วงดุริยางค์ โดยเงินบริจาคได้จัดตั้งกิจกรรมสหกรณ์ กิจกรรมรักษาดินแดน และขณะเดียวกันก็ ปรับปรุงงานด้านต่าง ๆ ทั้งธุรการ วิชาการ ปกครอง และบริการ เพื่อเตรียมรับหลักสูตรใหม่ พ.ศ.2521
พ.ศ. 2521
ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตร พ.ศ. 2518 และ รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลักสูตร 2521 ควบคู่กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.ศ.1) ตามหลักสูตร พ.ศ. 2503 ด้วย
ปีการศึกษา 2524
เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2524 โดยได้เปิดแผนการเรียนอย่างกว้างขวาง เพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่น ได้รับงบประมาณก่อสร้างแฟลต 3 ชั้นจำนวน 2 หลัง จำนวน 16 ยูนิต ก่อสร้างระบบประปาผิวดิน หอถังสูงด้วยแรงงานภารโรง ก่อสร้างอาคารโรงงาน จำนวน 2 หลัง
1 ต.ค. 2525
เลื่อนตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนนายสุนัย เสงี่ยมศักดิ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
ปีการศึกษา 2525
ผู้อำนวยการโรงเรียนลาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ว่าที่ร้อยตรีสิทธิพล กาญจนศิริรัตน์ รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการ และในปีการศึกษานี้เองโรงเรียนได้เปิดสอนนักศึกษาวิชาทหารเป็นปีแรก
15 ต.ค. 2527
ว่าที่ร้อยตรีสุนัย เสงี่ยมศักดิ์ กลับจากศึกษาต่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
15 พ.ย. 2529
นายสุนัย เสงี่ยมศักดิ์ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคมนายสาโรช ไสยสมบัติ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการได้จัดตั้งวงโยธวาทิตนำเข้าประกวดได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเขตการศึกษา 10 และเป็นตัวแทนของเขตการศึกษา 10 เข้าแข่งขันระดับประเทศ ได้ปรับปรุงถนนโดยก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในโรงเรียนทั่งหมด สร้างรั้วและป้ายโรงเรียนใหม่

ปีการศึกษา 2530
ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษาก่อสร้างอาคารเรียนแบบ216 ล และโรงฝึกงานจัดสร้างถนนคอนกรีตรอบโรงเรียนปรับปรุงป้ายชื่อโรงเรียนและในปีนี้เองโรงเรียนได้รับพระราชทาน เป็นโรงเรียนดีเด่นประเภทโรงเรียนขนาดกลาง
5 พ.ย. 2533
นายปรีชา คำภักดี ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการแทนนายสาโรช ไสยสมบัติ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนปากเกล็ด ได้พัฒนาระบบงานต่าง ๆ โดยเน้นหนักคุณภาพการเรียนการสอนและการรณรงค์นักเรียนเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) ให้ได้ร้อยละ 50 รวมทั้งด้านความสัมพันธ์กับชุมชนโดยยึดตามกรอบความเชื่อ และจุดเน้น ของกรมสามัญศึกษา “ศึกษา กีฬา ดนตรี มีรายได้ระหว่างเรียน”
28 ก.พ. 2535
ได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาให้เข้าโครงการขยายโอกาสทาง การศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ตามหนังสือกรมสามัญที่ ศธ 0806/5665 ( ลงวันที่ 28 ก.พ 2535)
ปีการศึกษา 2536
โรงเรียนได้เพิ่มความเข้มข้นทางวิชาการด้านการปกครองดูแลนักเรียนและการ ติดตามผลเพื่อให้เกิดคุณภาพโดยการจัดขบวนการการศึกษาที่เน้นการนิเทศและติดตามผล เป็นหลัก
ปีการศึกษา 2537
โรงเรียนมุ่งพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ ทางการ ศึกษาสูงขึ้นควบคู่กับการพัฒนาส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม ตลอดทั้งมีการนิเทศ และติดตามผล
ปีการศึกษา 2538
โรงเรียนมุ่งเน้นทางวิชาการจัดอุทยานทางการศึกษามุ่งเน้นพัฒนาความสะอาดใน สถานศึกษาบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน ความประพฤติของนักเรียน ส่งเสริมความก้าวหน้าของบุคลากรทุกวิถีทางและเน้นให้นักเรียนรู้จักคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
30 มี.ค. 2539
นายวันชัย เศรษฐกร ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนมุ่งส่งเสริมด้านการเรียนการสอน โดยนำเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามามีบทบาทในการ พัฒนาด้านการสอนยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้ ร่มรื่น สะอาดสวยงาม ปลุกจิตสำนึกให้กับบุคลากรด้านความมีคุณธรรม จริยธรรม และรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามเป็นตัวอย่างที่ดีของชุมชน โรงเรียนได้รื้อถอนอาคารเรียน แบบ 212 ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรก และในปีนี้โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกระทรวง ศึกษาธิการให้เข้าโครงการปฏิรูปการศึกษานำร่อง ของจังหวัดร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2540
โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องโครงการจัดการเรียนการสอนที่เน้น นักเรียนเป็นศูนย์กลาง
ปีการศึกษา 2541
โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนศูนย์เคมี ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด
11 ม.ค. 2542
นายสมเกียรติ พื้นแสน ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ปีการศึกษา 2542
โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นสำนักงานกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มที่ 5 และเป็นโรงเรียนประธานสหวิทยาเขตเมืองแสน
ปีการศึกษา 2543
โรงเรียนได้รับงบประมาณปรับปรุงสนาม จำนวน 100,000 บาทโรงเรียนได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารโรงฝีกงาน จำนวน 100,000 บาท โรงเรียนเป็นตัวแทนของโรงเรียนสหวิทยาเขตเมืองแสน ให้เป็นโรงเรียนนำร่องการประกันคุณภาพการศีกษา
ปีการศึกษา 2544
โรงเรียนได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณ รายการครุภัณฑ์ ( แบบง. 231 ) เลขที่ 1985 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2544 จำนวน 2 รายการคือดนตรีไทย 1 ชุด ( 101,100 บาท ) และดนตรีสากล 1 ชุด ( 244,000 บาท ) ผู้บริหารโรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานกลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษา กลุ่มที่ 3 ผู้บริหารโรงเรียนได้รับคัดสรรจากสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) เป็นผู้บริหารดีเด่นประจำปี 2544 โรงเรียนได้รับโล่เกียติยศ เป็นโรงเรียนดีเด่นระบบดูแลช่วยเหลือช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกรมสามัญศึกษา โรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการเพื่อนเตือนเพื่อนระดับจังหวัดประจำปี 2544
ปีการศึกษา 2545
เปลี่ยนแปลงการบริหารการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จากกรมสามัญศึกษา เป็นขึ้นตรงต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ปีการศึกษา 2545
นายกัมพล พื้นแสน ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบการฝึกปฏิบัติงานของผู้บริหาร และผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาโรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
ปีการศึกษา 2546
โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน โรงเรียนได้ดำเนินการตามโครงการก่อสร้างหอสมุด 33 ปี พนมไพรวิทยาคารจัดสร้างที่จอดรถครู-อาจารย์ นักเรียน และปรับปรุงระบบน้ำดื่มน้ำใช้ ตลอดจนระบบอินเตอเน็ต
26 พ.ย. 2546
นายกัมพล พื้นแสนย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
นายชำนาญ โพธิคลัง ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแทน
ปีการศึกษา 2547
โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนยอดนิยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนประธานศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเขตปฏิบัติการนิเทศที่ 19 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้านพักครู บ้านพักนักการภารโรง โรงเรียนได้ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาว่าด้วยการวัดและประเมินผลการศึกษา ก่อสร้างฟุตบาธ และปรับปรุงร่องระบายน้ำ ได้สมัครเข้าโครงการ โรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดีเด่นระดับเหรียญทอง
1 ต.ค. 2547
นายชำนาญ โพธิคลัง ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอาจสามารถ
วิทยา นายสมศักดิ์ สอนสนาม ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีการศึกษา 2548
ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปรับปรุงระบบ ICT ตามโครงการหนึ่ง อำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน ปรับปรุงห้องเรียน คอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ปรับปรุงสนามกีฬา เพื่อรับการประเมินรับรองเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน (3 กุมภาพันธ์ 2549) โดยนายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และรับการประเมินภายนอก และจาก สมศ.
(5 – 7 กรกฎาคม 2548) โรงเรียนได้ร่วมกิจกรรมตามโครงการกรุงไทยสานฝัน บมจ.ธนาคารกรุงไทย (มหาชน)

ปีการศึกษา 2549
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2550 ได้รับมอบศูนย์ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไทยบริดจตสโตน จากบริษัทไทยบริดจสโตน (ประเทศไทย) จำกัด และโรงอาหาร 36 ปี พนมไพรวิทยาคาร จากบริษัทซันดิว (ประเทศไทย) จำกัด

ปีการศึกษา 2550
ได้รับจัดสรรงบประมาณ รายการงบลงทุนเป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ปรับปรุง 46 งบประมาณ 14,773,000 บาท

ปีการศึกษา 2551
โรงเรียนผ่านการประเมินจาก สมศ. ครั้งที่ 2 ได้รับการสนับสนุนจาก บมจ.ธนาคารกรุงไทย ในโครงการโรงเรียนในฝัน โรงเรียนดีใกล้บ้าน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1,500,000 บาท พร้อมให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีได้อันดับที่ 1 ที่สอบเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ บมจ. ธนาคารกรุงไทย กำหนด ตามโครงการกรุงไทยสานฝันสู่บัญฑิต ปีละ 50,000 บาท

ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนได้รับโรงกรองน้ำดื่มสะอาดจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ในวงเงินงบประมาณ จำนวน 1,008,000 บาท ปรับปรุงระบบอินเตอร์เน็ตที่ได้มาตรฐาน งบประมาณ 880,000 บาทได้รับงบประมาณก่อสร้างห้องน้ำห้องส้วม ขนาด 4 ที่นั่ง ในวงเงินงบประมาณ 320,000 บาท

ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนแยกการบริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 มาขึ้นตรงต่อสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ก่อสร้างหอสมุด 36 ปี และห้องประชุมเมืองแสน งบประมาณ 2,400,000 บาท ซ่อมแซมอาคารแฟลตและบ้านพักอาศัยครู จำนวน 150,000 บาท

ปีการศึกษา 2554
ได้รับงบประมาณจัดทำห้องเรียนอัจฉริยะจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 780,000 บาท ติดตั้งที่ห้อง 1308 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
6 ธันวาคม 2554 นายสมศักดิ์ สอนสนาม ผู้อำนวยการโรงเรียนพนมไพรวิทยาคารย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
7 ธันวาคม 2554 นายชอบ ธาระมนต์ ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองฮีเจริญวิทย์ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร

ปีการศึกษา 2555
-ได้รับการจัดสรรงบประมาณจัดหาสื่อห้องเรียนคุณภาพเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ตามข้อเสนอแนะ ส.ส.(พล.ต.อ.วิรุฬ พื้นแสน ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย) จำนวนเงิน 1,300,000 บาท
-ได้รับงบประมาณปรับปรุงโรงเรียนในฝันสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มที่ 3 จำนวน 280,000 บาท
-เป็นตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 รับการทดสอบวัดระดับความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการคิดวิเคราะห์(PISA)
-ได้รับการจัดตั้งเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล(Standard school)
-ได้รับงบประมาณก่อสร้างต่อเติมโรงพลศึกษา 200,000 บาท
-เปิดสอนภาษาจีน ภาษาเกาหลี ในกลุ่มภาษาต่างประเทศจัดจ้างครูฝรั่งชาวต่างชาติมาทำการสอน ด้วยการสนับสนุนจากผู้ปกครองนักเรียน

ปีการศึกษา 2556
– ปรับปรุงหลักสูตรใหม่เป็นหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล
– ได้รับการจัดสรรครูอาสาสมัครจากประเทศเกาหลีด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานกับสถานทูตเกาหลีใต้ประจำประเทศไทยจำนวน 2 คน
– ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 470,000 บาท เพื่อจัดซื้อคอมพิวเตอร์ห้องสมุด
– เข้าร่วมโครงการกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์กับบริษัทไทยบริดจสโตน ที่มีศูนย์การเรียนรู้ไทยบริดจสโตน ด้วยเงินงบประมาณ 150,000 บาท
– ได้รับเงินสนับสนุนห้องฉายภาพยนตร์ จาก บมจ.ธนาคารกรุงไทย จำนวน 150,000 บาท
– ทดลองจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษ (วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์)

ปีการศึกษา 2557
– ได้รับการจัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ 324/55 ปรับปรุง งบประมาณ 25,900,000 บาท (ยี่สิบห้าล้านเก้าแสนบาท)
– ก่อสร้างรั้วโรงเรียนด้วยงบประมาณ 1,350,000 บาทเงินด้วยเงินบริจาคจาก ผู้ปกครอง คณะครู ศิษย์เก่า และผู้มีจิตศรัทธา พร้อมก่อสร้างป้ายชื่อโรงเรียนโดยได้เงินบริจาคจาก อัยการชิงชัย โชติแสง จำนวนเงิน 250,000 บาท

ปีการศึกษา 2558
– ได้รับงบประมาณ (โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล คสช งบ 2558) ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียน 1,900,000 บาท (หนึ่งล้านเก้าแสนเก้าหมื่นบาท)
– ได้รับงบประมาณปรับปรุงสนามกีฬา (โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล คสช งบ 2558) งบประมาณ 1,300,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนบาท)
– โรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร ผ่าน การประเมินรอบที่ 3 สมศ. 2556 ในระดับดีมาก ***
– ได้รับการอนุมัติจากเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษ (วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์)
– ได้รับสนามฟุตซอลแบบมาตรฐาน 1 สนาม งบองค์การบริหารส่วนตำบลพนมไพร งบประมาณ จำนวน 2,400,000 บาท(สองล้านสี่แสนบาท)

ปีการศึกษา 2559
– ดำเนินการก่อสร้างอาคารกีฬาอเนกประสงค์ (โดม 46 ปี) งบประมาณ 4,800,000 บาท ด้วยเงินบริจาคจากการจัดทำผ้าป่าการศึกษาของ ผู้ปกครอง คณะครู ศิษย์เก่าและผู้มีจิตศรัทธา
– ก่อสร้างศาลพระภูมิประจำโรงเรียนด้วยเงินบริจาคจาก ผู้อำนวยการชอบ ธาระมนต์ อาจารย์รังศรี หงศาลา ศิษย์เก่า และผู้มีจิตศรัทธา
– จัดทำห้องคอมพิวเตอร์โดยบริษัท บางกอกซอฟแวร์ จำกัด จำนวน 1 ห้อง ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 41 เครื่อง

ปีการศึกษา 2560
– เปิดอาคารเรียน 324ล 3 ชั้น 24 ห้องเรียน ให้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
– นายสะอาด ขันอาษา ผู้อำนวยการโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร เกษียณอายุราชการ อยู่ในช่วงชะลอการแต่งตั้งผู้อำนวยการโรงเรียนคนใหม่ ดังนั้น นายคำสุก ศิลาเหลือง จึงดำรงตำแหน่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร วันที่ 1 ตุลาคม 2562

ปีการศึกษา 2561
– วันที่ 25 พฤษภาคม 2562 นายสุดสาคร ศิริวารินทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนขัตติยะวงษา ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร
– ก่อสร้างห้องน้ำใหม่ งบประมาณ 2 ล้านบาท (เงินนอกงบประมาณ) บริเวณหลังอาคาร 3 และทำพิธีเปิดใช้งานในวันที่ 30 ตุลาคม 2561
– นายอำนาจ ชินศรี และนายพูลสิทธิ์ สิงห์พันธ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร

ปีการศึกษา 2562
– วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 นายรัฐพล นามคำ และนายพูลสิทธิ์ สิงห์พันธ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร ย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด
– ดำเนินการรื้อถอนบ้านพักครู 2 หลัง
– ดำเนินการสร้างโรงอาหาร แบบ 101 ส./27 พิเศษ (ปรับปรุงชั้นบนเป็นโรงพลศึกษา) งบประมาณ 12.45 ล้านบาท บริเวณที่จอดรถนักเรียนเดิม และจัดสรรสร้างที่จอดรถใหม่ชั่วคราวสำหรับนักเรียนหน้าอาคาร 2
– ดำเนินการสร้างทางเดินอิฐระหว่างอาคาร 3 และห้องน้ำหลังอาคาร 3 ทางเดินอิฐระหว่างอาคาร 5 และโรงอาหาร
– ปรับปรุงพื้นที่ถนนหน้าอาคาร 1 จนถึงประตูโรงเรียนทิศตะวันออก เพื่อป้องกันน้ำท่วม และขยายพื้นที่โรงอาหาร
– วันที่ 3 กันยายน 2562 โรงเรียนพนมไพรวิทยาคารได้เข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากลที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Office of the Basic Education Commission Quality Awards: OBECQA) ระดับ ScQA ปี 2561
– วันที่ 30 กันยายน 2562 นายสุดสาคร ศิริวารินทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร เกษียณอายุราชการ แต่งตั้ง นายเอนก อุดมวงค์ ดำรงตำแหน่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร
– วันที่ 11 ธันวาคม 2562 นายอนุสรณ์ ทาสระคู ผู้อำนวยการโรงเรียนทรายทองวิทยา ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร
– รื้อถอนห้องน้ำข้างอาคาร 2 ปรับทัศนียภาพเป็นสวนหย่อม และปรับปรุงสวนหย่อยอื่น ๆ รอบโรงเรียน

ปีการศึกษา 2563
– ขยายโรงอาหาร งบประมาณ 800,000 บาท (เงินนอกประมาณ)
– ปรับปรุงอาคารบริดจสโตนเป็นห้องประชุมฟ้ามุ่ย งบประมาณ 300,000 บาท (งบประมาณบริจาคจากคุณฟ้ามุ่ย กนกนภากุล)

ปีการศึกษา 2564
– สร้างโรงจอดรถนักเรียน งบประมาณ 1,500,000 บาท (เงินงบนอกระบบ) บริเวณหน้าแฟลตพักครู และปรับปรุงทางเข้า-ออกบริเวณโรงจอดรถและแฟลตพักครู

ปีการศึกษา 2565
– ปรับปรุงหลังคาโรงพลศึกษา งบประมาณ 492,900 บาท
– กั้นห้องสำนักงานบริเวณอาคารเอนกประสงค์ และปรับเปลี่ยนห้องสำนักงานอาคาร 1

ปีการศึกษา 2566
– ได้รับจัดสรรงบประมาณจัดทำซ่อมแซมผิวจราจร Asphaltic concrete จำนวน 495,500 บาท บริเวณถนนข้างโดมฝั่งทิศตะวันออกไปจนถึงวงเวียนเจ้าพ่อชัยมงคล
– ได้รับจัดสรรงบประมาณซ่อมแซมอาคาร ทาสีอาคาร 1 และอาคาร 4 จำนวน 499,300 บาท
– 16 มีนาคม 2566 ก่อสร้างเสาธงใหม่ โดยงบประมาณบริจาคจากคุณคมสัน กนกนภากุล จำนวน 300,000 บาท 
– 18 เมษายน 2566 นางณัฏฐ์ณิณ เปรมชญาณัฏฐ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารทั่วไป ย้ายไปดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียนโพธิ์ชัยชนูปถัมภ์

โรงเรียนพนมไพรวิทยาคารจัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีคุณธรรม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากล

เราจะพัฒนาสถานศึกษาของเราด้วยภารกิจที่ต้องร่วมมือกันเป็นทีม เพื่อเป้าหมายร่วมกันและนักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามวิสัยทัศน์ ดังนี้

๑. พัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและได้มาตรฐานสถานศึกษา

๒. พัฒนากระบวนการบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง

๓. พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

๔. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น

๕. พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรของสถานศึกษาให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง

๖. พัฒนาแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาให้เป็นสังคมภูมิปัญญาแห่งการเรียนรู้บนพื้นฐานของความเป็นไทย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๗. พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการนำผลมาพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย

ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพตามมาตรฐานสถานศึกษา

อัตลักษณ์ของผู้เรียน

ผู้เรียนมีสัมมาคารวะ 

เอกลักษณ์ของผู้เรียน

เลิศล้ำวิชาการ สืบสานวัฒนธรรม

สมรรถนะหลัก            

นักเรียนมีศักยภาพทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

วัฒนธรรมองค์กร         

การบริหารแบบมนุษยสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วม

กลยุทธ์ที่  1  พัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

1.1 ส่งเสริมให้กลุ่มสาระฯพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มศักยภาพ

1.2 ส่งเสริมให้มีการสอนซ่อมเสริม พัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ

1.3 ส่งเสริม สนับสนุนการใช้สื่อนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

1.4 ส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ตามมาตรฐานสากล

1.5 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีสุขภาวะทางร่างกาย มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี

1.6 ส่งเสริมผู้เรียนให้ดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ที่  2  พัฒนาระบบบริหารจัดการ

2.1 บริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

2.2 บริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์

2.3 บริหารโดยใช้ระบบคุณภาพของ PDCA

2.4 พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน

2.5 บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานสากล

2.6 ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2.7 พัฒนาและสร้างแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

กลยุทธ์ที่  3  พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

3.1 ส่งเสริมครูให้เข้ารับการอบรมสัมมนาในการพัฒนาหลักสูตร

3.2 ส่งเสริมให้ทุกกลุ่มสาระฯ พัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ที่  4  พัฒนาครูให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

4.1 อบรมสัมมนาครูทุกกลุ่มสาระฯ ทั้งในและนอกสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

4.2 ส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาตนเองและเพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ที่  5  พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5.1 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5.2 จัดหาสื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในห้องเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

5.3 พัฒนาระบบวัดและประเมินผลผู้เรียนให้เป็นระบบเพื่อนำผลมาพัฒนาผู้เรียนและปรับปรุงจัดการเรียนรู้

5.4 พัฒนาระบบนิเทศการเรียนการสอนและชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)

  1. รักชาติ ศาสน์  กษัตริย์

  2. ซื่อสัตย์สุจริต

  3. มีวินัย

  4. ใฝ่เรียนรู้

  5. อยู่อย่างพอเพียง

  6. มุ่งมั่นในการทำงาน

  7. รักความเป็นไทย

  8. มีจิตสาธารณะ

  9. มีสัมมาคารวะ

  1. ความสามารถในการสื่อสาร

  2. ความสามารถในการคิด

  3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา

  4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

  5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

  1. ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

  2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม

  3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์

  4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม

  5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม

  6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน

  7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง

  8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

  9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

  10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี

  11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา

  12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

ข้อมูลอาคารสถานที่

  • เนื้อที่โรงเรียน   49  ไร่   3 งาน  77.1 ตารางวา

  • อาคารเรียนถาวร  5 หลัง

  • อาคารเรียนชั่วคราว  1  หลัง

  • อาคารอเนกประสงค์ 1  หลัง

  • โดมอเนกประสงค์  1  หลัง

  • โรงฝึกงาน 3 หลัง

  • บ้านพักครูแบบแฟลต  2  หลัง

  • หอประชุม  2 หลัง (กำลังดำเนินการก่อสร้าง)

  • โรงอาหาร   1   หลัง 

  • ส้วมนักเรียน 3 หลัง

  • โรงกรองน้ำ  1  หลัง

ยานพาหนะ

  • รถตู้   จำนวน 2 คัน

  • รถกระบะ  จำนวน  2  คัน

  • รถบรรทุก จำนวน  1  คัน

แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
1. ห้องสมุดมีขนาด 280 ตารางเมตร จำนวนหนังสือในห้องสมุดทั้งหมด 50,000 เล่ม
2. จำนวนนักเรียนที่ใช้ห้องสมุดในปีการศึกษาที่รายงานเฉลี่ย 1,800 คน/ วันคิดเป็นร้อยละ79.21
ของนักเรียนทั้งหมด
3. ห้องปฏิบัติการ
ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ห้อง
-วิทยาศาสตร์กายภาพ ห้อง 5204
-เคมี ห้อง 5401
-ฟิสิกส์ ห้อง 5408
-ชีววิทยา ห้อง 5308
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ห้อง
-คอมพิวเตอร์ 1 ห้อง 1201
-คอมพิวเตอร์ 2 ห้อง 1204
-คอมพิวเตอร์ 3 ห้อง 1208
ห้องปฏิบัติการทางภาษา จำนวน 2 ห้อง
-Movie Theater ห้อง 4301
-English Zone ชั้นล่างอาคาร 4
ห้องปฏิบัติการงานอาชีพ
– ห้องตัดเย็บเสื้อผ้า ห้อง 8101
– ห้องเกษตร ห้อง 8102
– ห้องอาหาร ห้อง 7101
– โรงงานช่างยนต์ ห้อง 7102
– โรงงานช่างไฟฟ้า ห้อง 6101
– โรงงานช่างไม้ ห้อง 6102
ห้องปฏิบัติงานดนตรี – นาฏศิลป์
– ห้องดนตรี นาฏศิลป์ไทย ห้อง 5101
– ห้องดนตรีสากล 1 (วงโยธวาทิต) ห้อง 4101
– ห้องดนตรีสากล 2 ห้อง 3101
ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง ห้อง 1301
ห้องเรียนอัจฉริยะ จำนวน 2 ห้อง
– ห้องอัจฉริยะภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ห้อง 1308
– ห้องอัจฉริยะภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ห้อง 2301
– ห้องอัจฉริยะภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ห้อง 2302
ห้องจริยธรรม จำนวน 1 ห้อง ห้อง 2308
ห้องเรียนคุณภาพ จำนวน 10 ห้อง
– ห้องคุณภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ห้อง 2204
– ห้องคุณภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ห้อง 4204
– ห้องคุณภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ห้อง 4308
– ห้องคุณภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา พลศึกษา ห้อง 1206
– ห้องคุณภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ห้อง 5101
– ห้องคุณภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ห้อง 2304
– ห้องคุณภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ห้อง 2305
– ห้องคุณภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ห้อง 2306
– ห้องคุณภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ห้อง 2307
– ห้องคุณภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ห้อง 2308